บ้านม่วงชุม
บ้านม่วงชุม
ข้อมูลบริบททชุมชนบ้านม่วงชุม
ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ประวัติชุมชนบ้านม่วงชุม (โดยย่อ)
ที่ตั้งหมู่บ้านในอดีตเป็นบริเวณที่ชาวบ้านนำวัวควายไปเลี้ยง ต่อมามีการอพยพโยกย้ายมาอยู่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆจนกลายเป็นชุมชน การตั้งบ้านเรือนของชุมชนเท่าที่ผู้เฒ่าแก่ในหมู่บ้านจำได้และมีการบันทึกไว้ เริ่มมีการตั้งชุมชนตั้งแต่ ปี พ.ศ.2440 ชาวบ้านได้อพยพมาตั้งบ้าน 5 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นการตั้งชั่วคราวเพื่อเลี้ยงวัวควาย และเริ่มมีการอพยพเข้ามาเรื่อยๆ สมัยแรกนั้นบ้านม่วงชุมอยู่กับบ้านตอง หมู่ 6 โดยมีผู้ปกครอง ดังนี้
นายเต็ม อินใจ ปกครองในช่วงปี พ.ศ. 2460 – 2470
นายจำปา ปันอิน ปกครองในช่วงปี พ.ศ. 2470 – 2480
ส.ต.ปุย เทวสิทธิ์ ปกครองในช่วงปี พ.ศ. 2480 – 2490
ส.ต. อเนก ปกครองในช่วงปี พ.ศ. 2490 – 2500
เมื่อปี พ.ศ. 2512 จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น โดยมี 30-40 ครัวเรือน จึงได้ทำการแยกการปกครองจากบ้านตอง หมู่ 6 ออกมาเป็นบ้านม่วงชุม คำว่า “ม่วงชุม” จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่หลายคน ได้เล่าให้ฟังว่า หลังจากย้ายมาจากท่าแสนสาวเพราะน้ำท่วม จึงได้อพยพมาอยู่ในพื้นที่ดอนซึ่งช่วงนี้นเป็นป่าดงรกทึบ มีต้นไม้ขึ้นมากมายหลายชนิด รวมทั้งทั้นมะม่วงป่า เช่น มะม่วงฝ้าย มะม่วงจี้หี้ด มะม่วงไข่ มะม่วงแก้มแดง ขึ้นอยู่กันเป็นกลุ่มๆ บริเวณวัดและริมห้วยเป็นจำนวนมาก เลยตั้งชื่อหมู่บ้าน ว่า “บ้านม่วงชุม”
ที่ตั้ง
บ้านม่วงชุม หมู่ 7 ตั้งอยู่ในเขตตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีพิกัดที่ตั้งอยู่ที่ ละติจูด 20° 6'9.11" เหนือ และลองติจูด 100°24'12.03" ตะวันออก มีระดับความสูง 375 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ขนาดพื้นที่
บ้านม่วงชุมมีพื้นที่โดยรวมประมาณ 5550 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น พื้นที่อยู่อาศัย 180 ไร่ พื้นที่ทำนา 850 ไร่ พื้นที่ทำสวน 150 ไร่ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ (ป่าชุ่มน้ำ) 500 ไร่ และพื้นที่อื่นๆ (ป่าภูเขา) 3870 ไร่
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านตองเก้า
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านศรีล้านนา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ดอยยาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำอิง
สภาพภูมิประเทศ
บ้านม่วงชุม มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขาน้อยใหญ่ ลาดเทจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 351 - 900 เมตร โดยมีเทือกเขาดอยยาววางตัวอยู่ในแนวเหนือ – ใต้และอยู่ทางทิศตะวันออกของชุมชน เป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์อยู่ในเขตพื้นที่ของเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ประกอบด้วยภูเขาสูง พื้นที่เนินจะมีสภาพดินเป็นดินตะกอนเศษหินเชิงเขา กรวด ทรายและลูกรัง ซึ่งดอยยาวมีโครงการเป็นหินอัคนี ส่วนทางทิศตะวันตกของชุมชนมีแม่น้ำอิงไหลผ่านเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิง สภาพดินเป็นดินเหนียวที่เหมาะต่อการทำนาและการเพาะปลูก
สภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของบ้านม่วงชุม จะมี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูหนาวจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม และฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม
จำนวนประชากร
บ้านม่วงชุม มีทั้งหมด 175 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 537 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 270 คน ประชากรหญิง 267 คน เป็นผู้สูงอายุ 74 คน วัยเด็กเล็ก 5 คน เด็กวัยเรียน 61 คน วัยแรงงาน 282 คน คนพิการ 7 คน (ข้อมูลจากแผนชุมชน ปี 2556-2559)
ข้อมูลประชากร อาชีพ รายได้
ทำนา จำนวน 20 ครัวเรือน
ทำสวน จำนวน 20 ครัวเรือน
ทำไร่ จำนวน 75 ครัวเรือน
เลี้ยงสัตว์ จำนวน 10 ครัวเรือน
ประมง จำนวน 15 ครัวเรือน
ค้าขาย จำนวน 8 ครัวเรือน
บริการ จำนวน 1 ครัวเรือน
รับจ้างทั่วไป จำนวน 30 ครัวเรือน
ไปประกอบอาชีพที่อื่น จำนวน 40 ครัวเรือน
รับราชการ/พนักงานของรัฐ จำนวน 3 ครัวเรือน
ว่างงาน จำนวน 5 ครัวเรือน
รายได้ภาคเกษตร ทำนา 1,200,000 บาท/ปี
ทำไร่ 780,000 บาท/ปี
เลี้ยงสัตว์ 180,000 บาท/ปี
ประมง 100,000 บาท/ปี
ค้าขาย 2,000,000 บาท/ปี
บริการ 10,000 บาท/ปี
รับจ้าง 2,000,000 บาท/ปี
ทำงานประจำ 800,000 บาท/ปี
ลูกหลานส่งมาให้ 1,000,000 บาท/ปี
ศาสนาและประเพณี
ชาวบ้านม่วงชุมนับถือศาสนาพุทธ ในรอบปีชุมชนมีการประกอบประเพณีตามพุทธศาสนา ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมของหมู่บ้านม่วงชุ่มที่จัดขึ้นเป็นประจำในแต่ละรอบปีนั้น ส่วนมากจะเป็นประเพณีที่ชาวล้านนาทำกันมาช้านาน แต่อาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันบางเล็กน้อย จากตารางข้างบนนั้นบ่งบอกถึงประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆของหมู่บ้านที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงสามารถเข้าร่วมได้ และจะไม่มีการแบ่งแยก ชายและหญิงทุกคนในหมู่บ้านต้องมีความร่วมมือ เมื่อถึงงานประเพณีต่างๆ ที่หมู่บ้านได้จัดขึ้นในแต่ละปี ชาวบ้านทั้งหญิงและชายก็จะมาร่วมงานกันอย่างคึกคัก สนุกสนาน แสดงถึงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ของบรรพบุรุษไว้ให้รุ่นหลานได้สืบต่อกันไป