การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านป่าไม้และที่ดินเพื่อความเป็นธรรมในสังคมไทย - ดร. สุนทรียา เหมือนพะวงศ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการที่ดินและป่าไม้ที่ไม่เป็นธรรมก่อให้เกิดผลกระทบแก่หลายฝ่าย สาหรับชาวบ้านที่ ยากจน การไม่มีที่ดินทากินหมายถึงการขาดปัจจัยพื้นฐานที่สาคัญในการดารงชีวติ สาหรับประชาชน ทั่วไปหมายถึงการขาดโอกาสในการใช้สอยทรัพยากรอย่างเป็นธรรม และสาหรับระบบนิเวศหมายถึง การที่ธรรมชาตถิ ูกมนุษย์รุกรานเกินความสมดุล ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดการที่ดินและป่าไม้จึง มีมิติทั้งในส่วนของเรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Justice) ความเป็นธรรมทางสังคม (Social justice) และความเป็นธรรมทางนิเวศและสิ่งแวดล้อม (Ecological & Environmental Justice) ควบคู่กันไป บทความนี้จะไม่ได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องความเป็นธรรมในเรื่องที่ดินป่าไม้ทั้งระบบ หากแต่จะ ขอสารวจปัญหาและค้นหาแนวทางแก้ไขเฉพาะในเรื่องกระบวนการยุติธรรมทางที่ดินและสิ่งแวดล้อม เป็นสาคัญ

I. สภาพปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้

กระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมเกี่ยวพันกับตัวบทกฎหมายหลายฉบับ ในส่วนของ กฎหมายที่ดิน มีทั้งในส่วนของกฎหมายใช้ประโยชน์ในที่ดิน การปฏิรูปที่ดิน และการจัดสรรที่ดินเพื่อ วัตถุประสงค์ต่างๆ มีทั้งที่ดินในส่วนที่เป็นรกร้างว่างเปล่า ที่หลวงที่สาธารณะต่างๆ ที่ดินเพื่อประโยชน์ ของทางราชการ ที่ราชพัสดุ ในส่วนของกฎหมายป่าไม้ มีทั้งกฎหมายที่กาหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ใน ลักษณะต่างๆ และกฎหมายที่จัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร กฎหมายแต่ละฉบับเกิดขึ้นใน ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน มีหลักการและปรัชญาเบื้องหลังที่แตกต่างกัน บางฉบับก็มุ่งเน้นการอนุรักษ์ ขณะที่บางฉบับมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร การทผี่ ู้ใช้กฎหมายไม่สามารถทาความรู้จัก กฎหมายต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนและไม่เข้าใจกฎหมายทเี่ กี่ยวข้องกันได้อย่างเป็นระบบ ทาใหก้ ารบังคับ ใช้กฎหมายจึงเกิดปัญหาอยู่เนืองๆ

 

ยิ่งไปกว่านั้น การมีหน่วยงานทหี่ ลากหลายเข้ามารับผิดชอบกฎหมายที่แตกต่างกัน แตข่ าดการ ประสานงานกันอย่างจริงจัง ทาให้การบังคับใช้กฎหมายยังไม่เป็นเอกภาพและไม่เป็นระบบ ในขณะที่ บางหน่วยงานเคร่งครัด บางหน่วยงานกลับยืดหยุ่นหรือย่อหย่อน และการที่หลายฝ่ายมีอานาจหน้าที่ ตามกฎหมายทับซ้อนกัน ทาให้ขาดเจ้าภาพที่เหมาะสมที่จะพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัญหาการทุจริตในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ก็ยังเป็นปัญหาสาคัญทที่ า ให้การบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมาเกิดขึ้นได้ยาก ปัญหาดังกล่าวยิ่งทาให้เรื่องต่างๆ มีความ ซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น

นอกเหนือจากปัญหาความเหลื่อมล้าของโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาตขิองบุคคลใน สังคมจะแตกต่างกันแล้ว มาตรฐานการบงั คับใช้กฎหมายก็มีความแตกต่างกันด้วย ในกรณีที่มีการบุกรุก ที่ดินหรือที่ป่า เจ้าหน้าทอี่ าจจะไม่กล้าดาเนินคดีกับผู้มีอานาจหรือมีอิทธิพล แต่กลับกล้าที่จะจับและสั่ง ฟ้องคนยากคนจนคนด้อยโอกาสอย่างเด็ดขาด การสั่งฟ้องและดาเนินคดีด้านที่ดินและป่าไม้กลายเป็น เรื่องของการเลือกปฏิบัติ ปัญหาการมีสองมาตรฐาน (Double Standard) ในกระบวนการยุติธรรม ระหว่างคนจนกับคนรวย คนที่มีตาแหน่งหน้าที่ทางการเมืองหรือทางราชการชั้นสูงกับคนธรรมดา คนที่ มีอิทธิพลกับคนด้อยอิทธิพล คนฝ่ายอุตสาหกรรมกับคนฝ่ายอนุรักษ์ กระทั่งชาวต่างประเทศกับคนไทย จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยเู่สมออีกทั้งระบบยุติธรรมในชั้นการพิจารณาและพิพากษาคดีกไ็ ม่สามารถ บรรเทาความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นให้ลดลงได้ ในบางครั้งกลับมีกระบวนการลงโทษทั้งทางอาญาและ ทางแพ่งอย่างไม่เหมาะสม

ในกรณีที่มีการสมยอมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้มีอิทธิพลในการออกเอกสารสิทธิโดยไมถ่ ูกต้อง เหนือที่ชายหาด ที่ทาเลเลี้ยงสัตว์ ที่ป่า ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินสาธารณะประโยชน์ หรือที่ดินของรัฐอื่นๆ หากฝ่ายประชาชนตื่นตัวที่จะปกป้องทรัพยากรในพื้นที่ของตน ประชาชนกลับกลายเป็นผู้ที่ต้องมีหน้าที่ พิสูจน์พยานหลักฐานมากมาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งที่กระทาการเพื่อปกป้องประโยชน์ของ สาธารณะ ยิ่งไปกว่านั้น หากมีข้อกรณีโต้แย้งกัน ประชาชนผู้พยายามจะปกป้องทรัพยากรส่วนรวมอาจ กลับต้องกลายเป็นจาเลยในคดีบุกรุกที่ดินที่ละเมิดกฎหมายได้ไปจากรัฐโดยมิชอบ ประชาชนกลายเป็น จาเลยในความผิดฐานทาให้เสียทรัพย์ กระทั่งความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นต้น นอกเหนือจากปัญหา การเลือกปฏิบัติหรือการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องที่ดินและ ป่าไม้อีกหลายเรื่อง เช่น ปัญหาการพิสูจน์แนวเขต ซึ่งไม่วา่ จะเป็นที่ดินของคนจนหรือของคนรวยก็เกิด เป็นข้อพิพาทกันอย่างทั่วหน้า ทาใหใ้ นวันนี้ประชาชนหลายคนจึงไดต้ ั้งคาถามกับระบบยุติธรรมและ กระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไมอ้ ย่างจริงจัง แตก่ ็ยังไม่มีใครช่วยตอบปัญหาให้ได้

 

II. แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้

จากปัญหาข้างต้น ผู้เขียนใคร่ขอเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ด้านที่ดินและป่าไม้ โดยหวังว่าจะเป็นความพยายามอีกส่วนหนึ่งทจี่ ะช่วยตอบปัญหา ซึ่งการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้คงจะต้องรีบกระทาอย่างเร่งด่วนและจริงจัง เพื่อไม่ให้ เหยื่อในกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไมใ้ นประเทศไทยเกิดขึ้นซ้าแล้วซ้าเล่า อย่างไม่มีจุดจบ

๑. การจัดทาประมวลกฎหมายทรัพยากรที่ดินและป่าไม้

ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่ากฎหมายที่ดินและป่าไมใ้ นประเทศไทยมีเป็นจานวนมาก ประมวล กฎหมายที่ดินที่มมี าตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มิใช่กฎหมายที่วางระบบที่ดินในภาพรวม หากเป็นแต่เพียง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน การรังวัดที่ดิน และการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นสาคัญ เรื่องของการจัดการที่ดินยังมีอยู่ในกฎหมายอื่นๆ อีกหลาย ฉบับ ตัวอย่างเช่นเรื่องที่ชายฝงั่ หรือที่ชายตลิ่งถูกกาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้าไทย ที่สาธารณประโยชนท์ี่ประชาชนใช้ร่วมกันมีอยู่ในกฎหมายปกครองท้องที่และกฎหมายอื่นๆอีกหลาย ฉบับ ที่ที่ส่วนราชการอยู่ในความดูแลของกฎหมายที่ราชพัสดุ ดังนั้น หากจะได้มีการปฏิรูปกฎหมาย ต่างๆ โดยทาการรวบรวมนามาประมวลไว้ในที่เดียวกัน ก็จะทาให้ผู้ใช้กฎหมายสามารถจะมองภาพรวม และวางระบบการจัดการได้ดีขึ้น ในทานองเดียวกัน กฎหมายว่าด้วยป่าไมใ้ นปัจจุบัน ก็มีทั้งในส่วนที่เป็น กฎหมายว่าด้วยการจัดการป่าไม้แบบทั่วไป และกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ต่าง ลักษณะกัน ไม่ว่าจะเป็นป่าสงวน ป่าอุทยาน ป่าที่เป็นเขตรักษาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ รวมทงั้ ป่ารกร้าง ป่าเสื่อมโทรมต่างๆ ซึ่งกระจายตามกฎหมายป่าไม้แต่ละฉบบั เช่นเดียวกัน ดังนั้น การจัดทาประมวล กฎหมายที่ดินและป่าไม้ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงน่าจะเป็นทางออกที่สาคัญใน การจัดระบบการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ให้มีความเป็นเอกภาพและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

การประมวลกฎหมายดังกล่าวน่าจะมีเป้าหมายเพื่อการวางหลักการของกฎหมายให้ชัดเจน เพราะในปัจจุบนั ยังไม่มีความชัดเจนว่าประเทศไทยจะยึดหลักการอะไรในการจัดการทรพั ยากร ใน ต่างประเทศ มีแนวคิดหรือปรัชญาการจัดการสาคัญอยู่สองแนวใหญ่ๆ คือ การจัดการแบบถือว่ามนุษย์ เป็นศูนย์กลาง (Anthropocentric หรือ Humancentric) ที่สามารถนาทรัพยากรธรรมชาติมาใชเ้ พื่อ สนับสนุนประโยชน์ของมนุษย์ ซึ่งในการใช้ของมนุษย์นั้น ยังจะต้องมีการจัดสรรให้เกิดความเป็นธรรมใน ระหว่างคนในสังคมที่มีโอกาสที่แตกต่างกันด้วย และการจัดการแบบที่มองระบบนิเวศและระบบ ธรรมชาตเิป็นศูนย์กลาง(Ecocentric)ตัวอย่างเช่นในหลายประเทศไดพ้ัฒนาหลักจริยธรรมเรื่องที่ดิน (Land Ethics) ที่มิได้มองว่าที่ดินเป็นแค่วัตถุในการเก็งกาไร หากแต่คือรากฐานของชีวิต ระบบนิเวศและสรรพสัตว์ หรือตามแนวคิด Gaia Theory ถือว่าโลกนี้มีชีวิตและมพี ื้นปฐพีเป็นหวั ใจที่ให้กาเนิดชีวิต และสรรพสิ่ง มนุษย์จะมาล่วงล้าให้เกิดผลกระทบเกินไปไม่ได้

สาหรับประเทศไทย คงเป็นเรื่องท้าทายที่จะหาความสมดุลของปรัชญาสองเรื่องดังกล่าว เพราะ กระทั่งในกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งในส่วนของมาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ ก็พูดไม่ชัดเจนว่า จะให้เรื่องใดสาคัญกว่ากัน ตามหลักปรัชญาทั้งสองฝ่าย หากจะจัดการให้ถูกต้อง ก็จาเป็นต้องชั่งน้าหนัก ระหว่างประโยชน์ของธรรมชาติที่ต้องอนุรักษ์ไว้ ในขณะเดียวกัน การใช้ประโยชน์ก็ต้องคานึงถึงความ เป็นธรรมในสังคมด้วยซึ่งสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนนี้่าจะอยู่ในจุดที่ละเมิดหลักการทั้งสอง เรื่อง กล่าวคือ เรายังใช้ทรัพยากรกันอย่างเต็มที่โดยไม่คานึงถึงข้อจากัดของธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน การใช้ในระหว่างมนุษยก์ ็ยังขาดความเป็นธรรมในการกระจายทรัพยากร ยังไม่เคยจัดลาดับความสาคัญ ของคนที่ควรจะเข้าถึงทรัพยากรที่ดินและป่าไมอ้ ย่างเหมาะสม ที่ผ่านมา รัฐยังใช้อานาจในการจัดการ ทรัพยากรเพื่อกลุ่มธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม การเกษตร และการท่องเที่ยวรายใหญ่ที่มีโอกาสใน สังคม มากกว่าการกระจายตัวใหป้ ระชาชนรายย่อย โดยเฉพาะประชาชนผู้มีฐานะยากจน ดังนั้น หากมี การจัดทาประมวลกฎหมายที่ดินและป่าไม้ขึ้น จะต้องมีการกาหนดสัดส่วนของทรัพยากรเพื่อการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน และจัดทาหลักเกณฑ์การกระจายทรัพยากรให้มีความเป็นธรรมและความ เหมาะสมมากขึ้นกว่าที่เปน็ อยู่ การอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ รัฐคงต้องชั่งน้าหนักที่สมดุล ระหว่างการดูแลความเป็นธรรมและสวัสดิการในสังคมควบคู่กันไป การให้กลุ่มทุนหรืององค์กรขนาด ใหญ่ใชท้ี่ดินหรือที่ป่าในราคาถูกเป็นจานวนมากเพื่อประกอบกิจกรรมเกษตรขนาดใหญ่หรือประกอบ อุตสาหกรรม จาต้องชงั่ น้าหนักความเหมาะสมกับการให้ประชาชนรายย่อยเป็นผู้ได้รับประโยชน์ การให้ ปัจเจกชนรายบุคคลกับการให้ชุมชนใช้ประโยชน์ก็ต้องชั่งน้าหนักอย่างสมดุลเช่นเดียวกัน

กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและป่าไมท้ี่จะมใีนประมวล กฎหมายนี้ยังจะต้องกาหนดกระบวนการต่างๆ ให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการออกกฎทางปกครอง เช่น การกาหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ หรือกระบวนการออกคาสั่งทางปกครองและการทาสัญญาทาง ปกครอง เช่น การออกใบอนุญาต การออกโฉนดเอกชน การออกโฉนดชุมชน การให้เช่า การให้ สัมปทาน เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องกาหนดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน องค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรภาคประชาสังคมในขั้นตอนการวางแผนการใช้และการตัดสินใจต่างๆ รวมทั้งการร่วมเฝา้ ติดตามให้ชัดเจนควบคู่กันไปด้วย

สาหรับการใชท้รัพยากรโดยไม่ถูกต้องเหมาะสมก็อาจจะต้องพัฒนาระบบการลงโทษตาม กฎหมายให้มีมาตรฐานที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วยในกรณีที่มีการละเมิดกฎเกณฑท์ี่ดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชนใ์ นทรัพยากร ประมวลกฎหมายที่ดินและป่าไม้จักต้องมีเครื่องมือในการลงโทษที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการลงโทษในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง ซงึ่ รัฐ ชุมชน และสังคม จักต้องช่วยกันสอดส่องดูแล บังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ มาตรการในเชิงการลงโทษที่มีอยู่ตาม กฎหมายต่างๆ ในปัจจุบันยังมีความแตกต่างกันมาก บางกฎหมายมีโทษหนัก บางกฎหมายมีโทษเบา บางกฎหมายมีแต่โทษทางอาญา บางกฎหมายมีโทษทางแพ่งและทางปกครองด้วย ประมวลกฎหมาย ที่ดินและป่าไม้ที่จะยกร่างขึ้นใหม่นี้จักต้องวางมาตรฐานของโทษให้มีความเหมาะสมและเปน็เอกภาพ ด้วย

สาหรับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันทไี่ด้กาหนด ค่าเสียหายทางแพ่งในกรณีที่บุคคลกระทาให้ทรัพยากรธรรมชาติของรัฐเสียหาย โดยบังคับให้ต้องชดใช้ มูลค่าทรัพยากรนั้น ถือเป็นกฎหมายที่มีเจตนาจะเยียวยาฟื้นฟูให้ทรัพยากรธรรมชาตทิ ี่ถูกทาลาย ให้ สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมให้มากที่สุด ซึ่งนับเป็นกฎหมายที่มีความทันสมัยที่พยายามมองระบบนิเวศ เป็นศูนย์กลางมากยิ่งขึ้นทั้งนี้เพราะในอดีตระบบกฎหมายไทยมองแต่เพียงว่าต้องมคีวามเสียหายที่ เกิดขึ้นแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์เท่านั้น กฎหมายถึงจะรับรองคุ้มครองสิทธิให้ แต่ใน ปัจจุบัน กฎหมายฉบับนี้ไดใ้ ห้ความคุ้มครองไปถึงตัวทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศโดยตรง ดังนั้น ผู้ใดทาให้ป่าเสื่อมโทรม ผู้นั้นต้องแกไ้ ขทาให้ป่าดีขึ้นหรือต้องชดใช้ค่าเสียหายเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูป่าขึ้น แม้ป่านั้นจะไม่มีเจ้าของ ผู้ใดทาให้ดินเสีย ผู้นั้นต้องทาให้ดินฟื้นคนื สภาพกลับมามีคุณภาพดีเหมือนเดิม แม้ดินนั้นจะไม่มีใครเป็นเจ้าของ ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่มีหลักการก้าวหน้ากว่าอีกหลายประเทศ อย่างไร ก็ตามตัวบทกฎหมายนี้ก็ยังขาดความชัดเจนและผู้ใชก้ฎหมายส่วนใหญข่องไทยยังขาดความรู้ความ เข้าใจที่เพียงพอ ทาให้เกิดการใช้กฎหมายที่ผิดวัตถุประสงค์และก่อความเสียหาย ตัวอย่างเช่น มีการ ตีความว่าค่าเสียหายที่เกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติ หมายความกว้างไกลรวมไปถึงคา่ ที่ทาให้โลกร้อนขึ้น เป็นอุณหภูมิหลายองศาซึ่งปราศจากการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ การ ใช้และการตีความกฎหมายดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม ดังนั้น ในการจัดทาประมวล กฎหมายที่ดินและป่าไมจ้ึงจาเป็นจะต้องทาการทบทวนกฎเกณฑ์เรื่องค่าเสียหายทาง ทรัพยากรธรรมชาติให้มีความชัดเจนและถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมที่มีมิติทาง สังคมควบคู่ไปกับมิติทางสิ่งแวดล้อมที่สมดุลมากยิ่งขึ้น

มาตรการบังคับคดีหรือมาตรการกาหนดโทษ ที่หมายความรวมถึงมาตรการในการเยียวยาฟื้นฟู ธรรมชาติไม่อาจได้มาดว้ ยการขังคนไว้ในเรือนจา การปรับ หรือการเรียกร้องเงินแต่เพียงอย่างเดียว ใน ความเป็นจริงอาจเกิดการกระทาการบางอย่างให้เกิดมีการฟื้นฟูเยียวยาขึ้น เช่นคาสั่งใหผ้ ู้ตัดป่าต้องปลูก ป่า ผู้สร้างอาคารในที่สาธารณะต้องรื้อถอนอาคารออกไป ผู้ถมที่ในทะเลต้องขุดดินออกไป หรืออาจ หมายความถึงการสรรหาทรัพยากรที่อื่นมาชดเชย นอกจากนี้ การจัดการกับเงินค่าปรับหรือค่าเสียหายที่รัฐได้รับมาจากผู้กระทาความผิดเพื่อให้เกิดกระบวนการบาบัดฟื้นฟูอย่างจริงจังก็เป็นเรื่องที่ต้อง จัดระบบใหม่ มาตรการทางเลือกแบบใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ จึงจาเป็นต้องถูกออกแบบมาในการจัดทา ประมวลกฎหมายใหม่นี้ด้วยเช่นเดียวกัน

ในอดีต ในประเทศไทยเคยมีแนวคิดในเรื่องการจัดทาประมวลกฎหมายในลักษณะนี้อยู่บ้าง หรือ ในปัจจุบันในบางประเทศก็เริ่มจัดทาประมวลกฎหมายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตขิึ้นแล้ว ตัวอย่างเช่นประเทศสวีเดนมีการจัดทาประมวลกฎหมายสิ่งแวดล้อมขึ้นแล้ว หรือประเทศเยอรมันมี ความพยายามที่จะจัดทาประมวลกฎหมายสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน แม้ยังไม่ประสบความสาเร็จ ดังนั้น จึงมีความจาเป็นที่จะต้องมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังต่อไปในอนาคต

๒. การจัดทากฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้

ในขณะทปี่ระเทศไทยมีความจาเป็นที่จะต้องจัดทาประมวลกฎหมายที่ดินและป่าไม้ขึ้นเพื่อทา หน้าที่เป็นกฎหมายสารบัญญัติที่จะกาหนดแนวทางในการใช้และการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ให้ มีความเป็นธรรมมากขึ้น การจัดทากฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่าไมท้ ี่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติขึ้น เป็นพิเศษก็มีความจาเป็นไม่แพ้กัน แมป้ ระเทศไทยมีประมวลกฎหมายกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ความอาญา รวมทั้งความปกครองอยู่แล้ว แต่ยังไม่สามารถเป็นกลไกในการสร้างความเป็นธรรมใน กระบวนการยุติธรรมทางที่ดินและป่าไมไ้ ด้อย่างจริงจงั โดยเฉพาะการขาดการมองดาเนินกระบวน พิจารณาแบบองค์รวมที่เหมาะสมกับสภาพของคดี ในปัจจุบัน จึงเกิดมีแนวความคิดว่าอาจจะจาเป็นต้อง มีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีพิเศษในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ขึ้นมา ดังเช่นในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรมก็ได้จัดตั้งคณะทางานเพื่อการยกร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมขึ้นและ ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการดาเนินการ

สาหรับหลักการในกฎหมายใหม่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้ที่จะขอนาเสนอในที่นี้ จัก ต้องเป็นไปเพื่อให้กระบวนพิจารณาคดีป่าไม้และที่ดนิมีมาตรฐานมคีวามถูกต้องเป็นธรรมประหยดั สะดวก และรวดเร็ว การจัดประเภทคดีต้องกระทาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการในเชิง การป้องกันและระงับปัญหามากกว่าการตามแก้ไขปัญหา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

๒.๑ กระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้จักต้องมีมาตรฐาน มิใช่เลือกปฏิบัติ

ที่ผ่านมา ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้แบบสองมาตรฐานเป็นปัญหาที่มี ความสาคัญ ดังนั้น ระบบการดาเนินคดีแบบใหม่จาเป็นจะต้องดาเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันให้ได้ ในปัจจุบัน ปัญหาการละเมิดกฎหมายเกิดขึ้นเป็นจานวนมาก ความยุ่งยากจึงตกอยู่กับผู้บังคับใช้กฎหมายว่าจะเลือกดาเนินคดีกับผู้ใดและสมควรจะเลือกใช้มาตรการใดให้เหมาะสม เพราะรัฐเองมี ทรัพยากรที่จะบังคับใช้กฎหมายจากัด ดังจะเห็นว่าบุคลากรที่จะดาเนินการบังคับใช้กฎหมายมีอยู่น้อย ซึ่งยังไม่มีความพร้อมและไม่มีทักษะในการดาเนินการ นอกจากนี้ ยังมีงบประมาณในการดาเนินการที่ จากัด จึงมีความยากในการดาเนินการ ยิ่งไปกว่านั้น น่าจะเป็นเรื่องปัญหาอานาจและอิทธิพลของผู้ที่ เกี่ยวข้องทาให้การบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมาเกิดขึ้นได้ยาก อานาจและอิทธิพลมักทาให้เกิด ความกลัว ความโลภ และความกล้าในการดาเนินการอย่างไม่เหมาะสม เนื่องจากปัญหาการเลือกปฏิบัติ เป็นปัญหาใหญ่ในกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ ดังนั้น กฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่า ไม้จักต้องมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ได้แก่ การกาหนดให้พนักงานอัยการทาหน้าที่เป็นผู้ ประสานและเป็นศูนย์กลางในการประสานงานคดีที่ดินและป่าไม้ (Focal Point) กับหน่วยงานด้านที่ดิน และป่าไม้ที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งการจัดตั้งคณะทางานด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้ เพื่อให้ มีการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานใหเ้ป็นระบบที่น่าเชื่อถือมากขึ้นรวมทั้งต้องมีระบบติดตามและ ตรวจสอบที่จริงจังมากยิ่งขนึ้จากทั้งฝ่ายรัฐและภาคประชาชนหรือในเรื่องนี้มีข้อเสนอจากทางภาค ประชาชน ที่จะขอให้มีกระบวนการตรวจสอบในขั้นต้นในระดับชุมชนเป็นการเฉพาะหรือควบคู่กันไป เพื่อจะให้การทางานเป็นไปด้วยความถูกต้อง รอบคอบและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

๒.๒ กระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้จักต้องเข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว และ ประหยัด

การเข้าถึงความยุติธรรมได้ง่ายหมายความรวมถึงการเปิดโอกาสใหป้ ระชาชนฟ้องร้องคดไี ด้ง่าย ด้วยที่ผ่านมากฎเกณฑเ์กี่ยวกับเรื่องอานาจฟ้องคดีที่ดินและป่าไม้ในส่วนของผู้เสียหายและประชาชน ยังไม่มีความชัดเจน การพัฒนากฎหมายเรื่องอานาจฟ้องทั้งในส่วนของผู้เสียหาย การฟ้องโดยชุมชน การฟ้องโดยองค์กรเอกชนด้านที่ดินและป่าไม้ สัตว์ป่า พันธุ์พืช รวมทั้งการฟ้องโดยประชาชนทั่วไป

การพัฒนาระบบการฟ้องคดีโดยองค์กรชุมชนหรือองค์กรประชาชนเป็นเรื่องที่มีความสาคัญ ใน ต่างประเทศเองก็มีแนวโน้มให้องค์กรในลักษณะกลุ่มฟ้องคดีเพมิ่มากขึ้นเพื่อเพิ่มอานาจต่อรองให้ ชาวบ้าน อันเป็นการสนับสนุนการรวมตัวกันของกลุ่มประชาชนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น สาหรับเรื่อง อานาจฟ้องโดยชุมชนนั้น จาเป็นต้องมีการกาหนดรายละเอียดให้ชัดเจน เพราะแม้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ให้การรับรองสิทธิของชุมชนในการมีส่วนร่วมและการฟ้องร้อง แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายที่มากาหนด รายละเอียดที่ชัดเจนไว้ ทาให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมมีความเข้าใจไม่ตรงกัน บางส่วนที่ สนับสนุนแนวคิดเรื่องสิทธิชุมชนก็พยายามตีความแบบขยายความ ในขณะที่ฝ่ายที่ไม่สนับสนุนเรื่อง สิทธิชุมชนก็จะตีความแบบจากัดสิทธิของประชาชน กระบวนการคัดเลือกตัวแทนของชุมชนควรเป็นอย่างไรจึงจะมีความเหมาะสมเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา กรณีตัวแทนชุมชนมีหลายฝ่ายจะทาอย่างไร เป็น เรื่องที่ต้องออกแบบให้ดีก่อนที่ปัญหาจะเกิด

ในส่วนของการฟ้องคดีโดยองค์กรเอกชนด้านที่ดินและป่าไม้ สัตว์ป่า พันธุ์พืช นั้น ในปัจจบุ ันยัง ไม่ความชัดเจนว่าจะกระทาได้เพียงใด ซึ่งจาเป็นจะต้องมีการบัญญัติกฎหมายรับรองสิทธิให้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งระบบการฟ้องคดีแบบเปิด (Open Standing) โดยประชาชนทั่วไปเพื่อให้สามารถนาคดีสาธารณะ เข้ามาสู่กระบวนการ ก็เป็นเรื่องที่ควรต้องพัฒนากันอย่างจริงจังต่อไป

สาหรับการพัฒนาวิธีพิจารณาคดทีี่ดินและป่าไมเ้พื่อให้เข้าถึงง่ายสะดวกรวดเร็วและประหยัด นั้น ยังมีวิธีการอื่นๆ อย่างมากมาย ซึ่งผู้ยกร่างกฎหมายจักต้องสรรหามาตรการใหม่ๆ ที่มีความ เหมาะสมเข้ามาใช้ต่อไป

๒.๓ การยกระดับการจัดการพิเศษสาหรับคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ

จากการสารวจข้อพิพาททางที่ดินและป่าไม้ที่มีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมอย่างรุนแรง มักจะเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะเป็นสาคัญ คดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ ได้แก่ คดีที่ ประชาชนหรือชุมชนพยายามรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินของส่วนรวมต่างๆ ไว้ เพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือสังคม แต่ไม่มีอานาจต่อรองหรือต่อสู้คดีให้สามารถรักษาไว้ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยโอกาสที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่แตกต่างกัน ฝ่ายที่มีโอกาสดีกว่าก็อาจใช้เครื่องมือทาง กฎหมายทาให้ฝ่ายด้อยโอกาสต้องเผชิญกับความเสียหายเพิ่มมากขนึ้

ตัวอย่างเช่นคดทีี่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่นักลงทุนได้ร่วมมือกับเจ้าหนา้ที่ออกเอกสารสิทธิในเขต ป่าเขตที่ดินสาธารณะเขตชายหาดเขตที่ทหารหรือที่ราชพัสดุต่างๆโดยมชิอบโดยมีกระบวนการใน การออกเอกสารสิทธิปลอม หรือมีกระบวนการรังวัดชี้แนวเขตโดยมิชอบ เพื่อเข้าไปสร้างโรงงาน สร้าง โรงแรมรีสอร์ท ทาเหมืองแร่ หรือทากิจการเกษตรกรรมต่างๆ ประชาชนที่เห็นปัญหาดังกล่าวพยายาม จะหยุดยั้งการกระทาที่ไม่ถูกต้องแต่ไม่สามารถกระทาได้ ในกรณีเช่นนี้ หากประชาชนจะไปฟ้องร้องต่อ ศาลก็อาจจะไม่สามารถฟ้องร้องได้เพราะไม่มีอานาจฟ้อง หรือหากฟ้องร้องกันก็จะเป็นขอ้ พิพาทระหว่าง เอกชนต่อเอกชนตามปกติ ซึ่งความสามารถในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีของฝ่ายประชาชนมีจากัด โอกาสในการแพ้คดีย่อมมีสูง ในกรณีเช่นนี้ จึงสมควรที่จะมีระบบการจัดการในลักษณะพิเศษสาหรับคดี ประเภทนี้เพราะถือเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Interest Litigation)

ยิ่งไปกว่านั้น ที่ผ่านมา ไม่เพียงแตฝ่ ่ายประชาชนจะไปที่ศาลเพื่อฟ้องร้องคดีดังกล่าว แต่ฝ่าย ประชาชนกลับกลายเป็นผู้ถูกฟ้องจากผู้บุกรุก โดยเฉพาะฝ่ายนักลงทุนหรือผู้มีอิทธิพลเสียเอง ทั้งนี้เพราะหากมีการต่อสู้โต้แย้งกัน มีการชุมนุมประท้วงโดยฝ่ายประชาชน หรือการใช้กาลังต่อสู้กัน ฝ่าย ประชาชนจะกลายเป็นจาเลยในคดีเสียมากกว่า ดังจะเห็นได้ว่าฝ่ายประชาชนจะถูกฟ้องคดีชุมนุมโดยมิ ชอบ หากมีการรวมตัวประท้วงกัน ประชาชนถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาทที่ไปกล่าวหาการออกเอกสารสิทธิ มิชอบ ประชาชนถูกฟ้องฐานทาให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพ หากไปกั้นรั้วเพื่อปกป้องที่สาธารณะ ประชาชนถูกฟ้องข้อบุกรุก หากเข้าไปในพื้นที่ส่วนรวมที่เคยเป็นของชุมชน ประชาชนถูกฟ้องข้อหาทา ให้เสียทรัพย์ หากไปรื้อถอนการปักปันเขตรั้วต่างๆ ของฝ่ายเอกชน หรือประชาชนถูกฟ้องฐานทะเลาะ วิวาท หากมีการวิวาทกับฝ่ายละเมิดกฎหมาย รวมถึงการถูกฟ้องคดีละเมิดอานาจศาล เป็นต้น ซึ่งคดี เหล่านี้พลิกกลับไปให้ฝ่ายประชาชนต้องหาทางต่อสู้คดีเพื่อเอาตัวให้รอด ซึ่งจะยิ่งทาให้การต่อสู้เพื่อ รักษาทรัพย์สินของสว่ นรวมเป็นไปอย่างยากลาบากมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อบุคลากรในกระบวนการ ยุติธรรมมองเรื่องราวต่างๆ อย่างแยกสว่ น ทาใหค้ วามผิดของฝ่ายประชาชนกลายเป็นความผิดฉกรรจ์ ในขณะที่ความผิดของผู้ละเมิดกฎหมายตัวจริงกลับถูกละเลยหรือถูกมองข้าม

ภาพความอยุติธรรมเช่นนี้ยังเกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวันในทุกพื้นที่ ทาให้ประชาชนที่มีจิตสาธารณะ ที่หลายคนถูกเรียกว่า “นักต่อสู้สามัญชน” ต้องเข้าไปอยู่ในคุกตารางในทางอาญาจานวนหนึ่ง ถูก พิพากษาให้ชาระค่าเสียหายทางแพ่งอีกจานวนหนึ่ง ทาให้ประชาชนผู้กล้าที่ประสงค์จะปกป้อง ทรัพยากรของส่วนรวมต้องล่าถอย และทาให้ผู้นาชุมชนหลายแห่งถูกทาร้ายและถูกสังหาร แม้ในปัจจุบัน ประชาชนเหล่านี้ได้ตื่นตัวพยายามต่อสู้ดิ้นรนด้วยตนเอง พยายามรวมตัวกันเป็นเครือข่ายในระดับ ภูมิภาคหรือระดับประเทศ แต่ก็ยังไม่สามารถต่อสู้ให้เกิดความเป็นธรรมได้

การจัดระบบคดีแบบใหมจ่ักต้องปรับเปลี่ยนสถานะคดีเหล่านี้จากการเป็นคดีเอกชนต่อเอกชนที่ ศาลมักจะมีคาวินิจฉัยว่าเห็นว่าเป็นคดีแพ่งระหว่างเอกชนด้วยกนั ผู้ใดมาก่อนมีย่อมมีสิทธิดีกว่า และ วินิจฉัยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ไป โดยศาลถือว่าทั้งสองฝ่ายมีอาวุธทางแพ่งที่จะต่อสู้กันอย่างเท่า เทียม โดยยึดระบบกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแบบเอกชนเป็นหลัก ใหก้ ลายเป็นคดีแบบพิเศษ ใน อนาคต หากคดีใดมีการกล่าวอ้างว่าทดี่ ินที่ป่าพิพาทเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม โดยมีหลักฐานที่น่ารับ ฟังในระดับหนึ่ง คดีเหล่านี้จักต้องถูกปรับสถานะจากคดขี องปัจเจกชนเฉพาะรายให้กลายเป็นคดีเพื่อ ประโยชน์สาธารณะไปในทันที ซึ่งหมายความว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะพนักงานอัยการหรือ หน่วยงานฝ่ายอื่นๆ รวมทั้งอาจจะต้องมีฝ่ายวิชาการหรือภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งอื่นๆ จะต้องเข้ามา ช่วยกันจัดเตรียมพยานหลักฐานร่วมไปกับภาคประชาชนเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการคานอานาจในการ สู้คดีกันอย่างเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ศาลก็อาจจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นกรรมการ ตัดสินในระบบการกล่าวหา ให้ต้องมาช่วยค้นหาความจริงแบบระบบไต่สวนมากขึ้น ดังนั้น ในอนาคต คดีเอกชนจานวนมากจะต้องถูกปรับให้เป็นประเภทคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่ทุกฝ่ายจะต้องเข้ามาช่วยค้นหาความจริงมากยิ่งขึ้น มิฉะนั้น ประชาชนผู้มีเจตนาดีจะต้องตกเป็นเหยื่อในกระบวนการ ยุติธรรมทางที่ดินและป่าไม้อย่างซ้าแล้วซ้าเล่า โดยไม่มีจุดจบ นอกจากนี้ คดีป่าไม้และที่ดินหลายเรื่อง เกี่ยวพันกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรง ดังนั้น การมีมาตรการพิเศษเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้ ปกป้องสิทธิมนุษยชนก็เป็นเรื่องที่จะต้องจัดให้มีขึ้นควบคู่ไปด้วย

๒.๔การพัฒนาระบบการฟ้องคดีสาธารณะของรัฐใหม้ ีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดีสาธารณะโดยประชาชนข้างต้นจะแก้ไขได้ง่ายขึ้น หากมีการพัฒนา ระบบการฟ้องคดีสาธารณะโดยฝ่ายรัฐใหม้ีประสิทธิภาพมากขึ้นที่ผ่านมาปัญหาทั้งหมดเป็นเพราะฝ่าย รัฐละเลยไม่ดาเนินการกับผู้ละเมิดกฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้น ในบางพื้นที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นฝ่ายยุยงให้ ชาวบ้านออกหน้าไปต่อสู้กับฝ่ายทุนหรือฝ่ายนักการเมืองหรือฝ่ายอิทธิพลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้า ดาเนินการเอง ทาให้ปัญหาต่างๆ ยากที่จะแก้ไข

ในอนาคต จาเป็นต้องมีการออกแบบระบบการทางานแบบใหม่ให้การฟ้องคดีสาธารณะของรัฐ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เจ้าพนักงานอัยการน่าจะต้องเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อข้อมูล และจัดการเรื่องคดีอย่างเป็นองค์รวม การละเมิดกฎหมายหลายครั้งเกี่ยวพันกับกฎหมายหลายฉบับและ เกี่ยวพันกับองค์กรที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย รัฐจักต้องมีกลไกที่จะใช้กฎหมายทุกฉบับได้อย่างเชื่อมโยงและ เป็นเอกภาพ เพื่อให้ผู้กระทาความผิดได้รับโทษจากทุกกระทงความผิด และทาให้เกิดกระบวนการ เยียวยาแก้ไขในทุกแง่มุม ในคดีที่มีความสาคัญและเป็นที่สนใจของสาธารณชนอย่างมาก การตั้งตัวแทน จากภาควิชาการหรือภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสวงหาความจริงในคดี ย่อมจะทาให้เกิด การยอมรับมากยิ่งขึ้น

การฝึกอบรมให้เกิดการทางานอย่างเชื่อมโยงและเป็นทีมงานกันเป็นเรื่องที่มีความจาเป็นอย่าง มาก ที่ผ่านมายังไม่มีภาพของการทางานเช่นนี้ การฟ้องคดีโดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งส่วนกลาง ส่วน ภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นจาเป็นต้องทาอย่างเป็นระบบ และในอนาคต การฟ้องคดีโดยองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นถือเป็นเรื่องที่ต้องสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะองค์การปกครองส่วน ท้องถิ่นทาหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างรัฐส่วนกลางและทุนจากส่วนกลาง ซึ่งองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะเล่นบทบาทเป็นตัวกันและคุ้มครองชีวิตและผลประโยชน์ของชาวบ้านก็ได้ หรือ อาจจะเล่นบทบาทที่เข้าข้างการรุกรานจากภายนอกก็ได้ ตามแต่จิตสานึกของผู้ที่เกี่ยวข้อง

๒.๕ การพัฒนาระบบการค้นหาความจริงที่เกี่ยวข้องกับคดี

การพัฒนาระบบการค้นหาความจริง (Fact-Finding Process) ในคดีที่ดินและป่าไม้ เป็นเรื่องที่มี ความสาคัญเพื่อใหไ้ ด้ความถูกต้องของคดี การรับฟังพยานเอกสารแต่เพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ การเชื่อในพยานเอกสารของทางราชการแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อ เป็นที่ทราบกันดีว่ากระบวนการออกเอกสารสิทธิในประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก ดังนั้น การรับ ฟังพยานบุคคล รวมถึงการออกไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงในพื้นที่ ไม่ว่าจะโดยผู้พิพากษาหรือเจ้าพนักงานคดี ของศาลก็น่าจะเป็นวิธีการที่ช่วยทาให้ข้อเท็จจริงปรากฏได้ง่ายขึ้น การพิสูจนพ์ ื้นที่ป่า ที่เขา ที่ลาดชัน หรือที่ชายหาด ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป หากมีความพยายามที่จะค้นหาความจริงกันอย่างจริงจัง ดังนั้น กฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาความจริงนี้จึงอาจต้องปรับปรุงในเรื่องที่ เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเรื่องการปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้พิพากษาในการค้นหาความจริงในคดี หรือการปรับเปลี่ยนภาระในการพิสูจน์คดบี างประการด้วย

นอกจากนี้ การนาระบบนิติวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ทางวิชาการทางศาสตร์อื่นๆ เข้ามาช่วย ค้นหาความจริงในคดีก็เป็นสิ่งที่จะต้องกระทาให้เป็นระบบขึ้น การจัดระบบข้อมูลและองค์ความรู้ในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องก็เป็นสิ่งสาคัญ นอกจากนี้ จักต้องมีการจัดทาระบบทะเบียนนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญใน เรื่องที่เกี่ยวข้องและจัดหาให้แก่ศาลที่ต้องการอย่างสะดวก ที่ผ่านมายังไม่มีฝ่ายใดเป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้ อย่างจริงจัง

นอกเหนือจากเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ในหลายกรณี การพิสูจน์ข้อเท็จจริงเชื่อมโยงกับข้อมูลทาง สังคมศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยา และชาติพันธุ์วิทยาต่างๆ การพิสูจน์เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมประเพณีที่เชื่อมโยงกับเรื่องการใช้ที่ดินที่ป่า โดยเฉพาะของกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ ก็เป็นเรื่อง ที่กระบวนการยุติธรรมจักต้องเข้าไปเรียนรู้และรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาความจริงในคดีด้วย เช่นเดียวกัน ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาลจะไม่ยอมรับรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ โดยอ้างว่าไม่ใช่ ประเด็นหรือนอกประเด็นแห่งคดี ทั้งๆ ที่บางครั้ง การพิสูจน์วัฒนธรรมประเพณีบางประการอาจนาไปสู่ การได้สิทธิ การมีความผิด หรือการพ้นผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องได้

เกยี่ วกับเรื่องประเด็นในคดีนี้ ที่ผ่านมา ศาลยังมักห้ามห้ามนาสืบบริบทของคดี แตม่ ุ่งพิจารณา เพียงหลักฐานเชิงประจักษ์โดยไม่นาพาต่อเบื้องหลังของเหตุการณ์ความขัดแยง้ ทาให้ขาดการมองภาพ ความขัดแย้งอย่างเป็นองค์รวม ทาให้หลายเรื่องถือการเป็นเรื่องคดพี ิพาทของปัจเจกบุคคลเท่านั้น ทาให้ ปิดโอกาสของฝ่ายประชาชนหรือชุมชนในการพิสูจนค์ วามบริสุทธิ์ของตน อันจะนาไปสู่ความขัดแย้งที่ไม่ มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การค้นหาความจริงที่มีประสิทธิภาพจึงต้องทาให้กระบวนการยุติธรรมสามารถเห็นภาพ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นองค์รวม มองเห็นสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงเพื่อจะได้สามารถค้นหาแนวทางในการแก้ไขได้อย่างถูกต้องต่อไป ซึ่งหากจะมีการลงโทษก็จะหามาตรการลงโทษได้อย่าง เหมาะสม และหากจะมีมาตรการเยียวยาแก้ไขฟื้นฟู ก็จะได้กระทาอย่างถูกต้องเหมาะสมเช่นเดียวกนั

ในที่สุดแล้ว กฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้จะต้องเป็นกลไกที่จะต้องทาให้ทุกฝ่าย ทางานเชิงรุก (Proactive) ในการเข้ามาทาหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้เกิดมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

๒.๖ การพัฒนาการใช้ดุลพินจิ ในการออกคาสั่งและการทาคาพิพากษา

การใช้ดุลพินิจในการออกคาสั่งและการทาคาพิพากษาจักต้องเป็นไปเพื่อให้สอดคล้องกบั ปรัชญาของกฎหมายที่ดินและป่าไม้ นั่นคือการดูแลความเป็นธรรมทางนิเวศ และความเป็นธรรมทาง เศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป

ที่ผ่านมาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมทางนิเวศและสิ่งแวดล้อมนั้น ศาลยังออก มาตรการต่างๆในเชิงการแก้ไขปัญหามากกว่าการป้องกันปัญหาดังนนั้ ในอนาคตการพยายามระงับ หรือป้องกันปัญหาความเสียหายที่จะเกิดแก่ที่ดินและป่าไม้ ที่โยงกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) หรือหลักการจัดการแบบยั่งยืน (Sustainable Management) หลักความ คุ้มครองอนุชนรุ่นหลัง (Inter-Generational Justice) และหลักการป้องกันไว้ก่อน (Precautionary Principle) จึงเป็นเรื่องที่ศาลสมควรนามาพิจารณาในการออกคาสั่งและทาคาวินิจฉัยต่างๆ มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เกี่ยวกับกระบวนการในการบาบัดฟื้นฟูสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศาลอาจจะต้อง ทางานร่วมกับหน่วยงานด้านการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อหามาตรการที่ เหมาะสม และหาองค์กรเครือข่ายเพื่อส่งต่องานอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

สาหรับประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมที่เชื่อมโยงกับความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจนั้น การใช้ดุลพินิจในการออกคาสั่งและการทาคาพิพากษาของศาลในคดีที่ดินและป่าไมใ้นช่วงที่ผ่านมายัง ถูกตั้งคาถามว่าถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่ โดยยังมีคาวิพากษ์วิจารณ์อยู่เนืองๆ จากสังคมว่า ชาวบ้าน ที่มีฐานะยากจนถูกศาลตัดสินจาคุกในคดีที่ดินและป่าไมโ้ ดยไม่รอการลงโทษเป็นเวลาหลายปี ในขณะที่ ผู้มีอิทธิพลหรือนักลงทุนต่างๆ ไม่ได้รับโทษ รับโทษนอ้ ย หรือมีตัวแทนมารับโทษแทน เพราะสาวไปไม่ ถึงตัวการ

คาวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่ศาลจักต้องรับฟังอย่างตั้งใจ และต้องมีการรวบรวมข้อมูล จัดทาสถิติคดี และทาการศึกษาวิจัยว่ามีปัญหาที่เกี่ยวข้องอยู่จริงหรือไม่ อย่างไร และหากมีแนวโน้มว่า ศาลยังไม่สามารถให้ความเป็นธรรมในคดีที่ดินและป่าไม้ได้อย่างเพียงพอ ศาลอาจจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทในการดาเนินงาน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนการใช้ดุลพินิจในการออกคาสั่งและการทาคา พิพากษาให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขนึ้ ทั้งนี้เพราะคาสั่งและคาพิพากษาในคดีอาญา ที่ เริ่มต้นตั้งแต่การพิจารณาหมายจับ การปล่อยชั่วคราว การออกมาตรการเพื่อความปลอดภัย และการ กาหนดโทษ หรือมาตรการคุมประพฤตใิ นลักษณะต่างๆ นั้น ในทุกขั้นตอนเกี่ยวพันกับสิทธิและเสรีภาพ ในร่างกายและชีวิตของประชาชนทั้งสิ้น ซึ่งในคดีที่คู่ความมีฐานะยากจนหรือด้อยโอกาสด้วยประการ ต่างๆผลกระทบทเี่กิดขึ้นต่อสมาชิกในครอบครัวของบุคคลคนหนึ่งอาจจะกระทบกับชีวิตของบุคคลอื่นๆ ในครอบครัวมากกว่าคนทั่วไป สาหรับในคดีแพ่ง การกาหนดมาตรการบังคับให้กระทาหรือละเว้นการ กระทา หรือการกาหนดให้มีการชดใช้ค่าเสียหายในคดี ย่อมหมายถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจของ ครอบครัวโดยรวมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งศาลจักต้องพึงระมัดระวังถึงผลกระทบต่างๆ เหล่านี้อย่างรอบ ด้านด้วย

๒.๗ การพัฒนามาตรการหรือกระบวนการยุติธรรมทางเลือกแทนกระบวนการปกติ

ในปัจจุบัน กฎหมายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายทางด้านเอกชน กฎหมายเด็กและเยาวชน หรือกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว และกฎหมายด้านสังคม ได้กาหนดมาตรการหรือกระบวนการ ยุติธรรมทางเลือกแทนกระบวนการปกติ เพื่อให้การจัดการข้อพิพาทและการแก้ปัญหาการละเมิด กฎหมายมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และแก้ปัญหาให้เกิดผลสาเร็จมาขึ้น ทั้งในส่วนของคดีแพ่งและ คดีอาญา กล่าวคือทั้งในส่วนที่เป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกทางแพ่ง (Alternative Dispute Resolution) หรือกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์หรือเชิงแก้ไขเยียวยาในทางอาญา (Restorative Justice) หรือกระบวนการยุติธรรมชุมชน (Community Justice) แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีมาตรการหรือ กระบวนการทางเลือกที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายที่ดินและป่าไม้ ทาให้การใช้กฎหมายอาจมีความ แข็งตัวไม่ยืดหยุ่น

เหตุผลสาคัญที่กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ยังพัฒนาไม่มาก เป็นเพราะหลายฝ่ายมีความ เชื่อว่ากฎหมายที่ดินและป่าไม้เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของส่วนรวม การเปิดช่องให้คู่ความฝ่ายรฐั ไปทา ข้อตกลงเจรจาไกล่เกลี่ยกับผู้ละเมิดกฎหมายอาจไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องทาให้เรื่องนี้ไดร้ับการพัฒนาน้อย มาก ในต่างประเทศก็มีความเชื่อที่ไม่ต่างจากกัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน หลายประเทศได้ยินยอมให้มี กระบวนการทางเลือกเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในคดีที่ดินและป่าไม้ ทั้งในส่วนของคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีปกครอง เพื่อให้คู่ความสามารถระงับข้อพิพาทกันได้ง่ายขึ้น และให้มีการดาเนินการ แก้ไขเยียวยาไปในทิศทางที่เหมาะสม โดยไม่จาต้องฟ้อง ตัดสินหรือบังคับคดีการพัฒนามาตรการหรือกระบวนการยุติธรรมทางเลือกแทนกระบวนการปกติจงึ เป็นเรื่องที่ สมควรจัดทาอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องถูกครอบงา อย่างไม่เหมาะสม จนทาให้การจัดทากระบวนการทางเลือกเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น

๓. การพัฒนาหน่วยงานพิเศษในกระบวนการยุติธรรมทางที่ดินและป่าไม้

นอกเหนือจากการพัฒนากฎหมายพิเศษรูปแบบใหม่ๆ แล้ว การพัฒนาหน่วยงานพิเศษใน กระบวนการยุติธรรมทางที่ดินและป่าไม้แบบใหม่ๆ ก็เป็นเรื่องที่จาต้องนามาพิจารณาอย่างจริงจัง เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเจ้าหน้าที่ซึ่งบังคับใช้กฎหมาย และศาล รวมทั้งหน่วยงานช่วยเหลือ ประชาชน และหนว่ ยงานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง

๓.๑ การจัดตั้งคณะทางานพิเศษด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้

การจัดตั้งคณะทางานพิเศษด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่าไม้น่าจะช่วยทาให้เกิดการวาง ระบบในการดาเนินการตามกฎหมายได้อย่างเหมาะสมและเกิดความเป็นเอกภาพมากยิ่งขึ้น กระบวนการใช้ดุลพินิจในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องร้องทางแพ่ง หรือการสั่งฟ้องและ ดาเนินคดีอาญาจะต้องมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม มิใช่ทาตามอาเภอใจ

เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและป่าไมม้ีหลายฉบับและมีหน่วยงานหลายฝ่ายจึง จาเป็นต้องมีหน่วยงานกลางขนึ้ มาประสานงาน ที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะจัดตั้งคณะกรรมการใน ลักษณะคล้ายๆ กัน เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการออก ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบังคับใชก้ ฎหมายสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่มีอัยการสูงสุดเป็น ประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเข้าร่วม โดยมีหลักการให้ตั้งคณะกรรมการบังคับใช้ กฎหมายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งเป็นคณะใหญ่ที่มีขอบเขตอานาจหน้าที่โยงกับการบังคับใช้กฎหมาย ที่ดินและป่าไม้อยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงวันนี้ ระเบียบดังกล่าวก็ยังไม่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม แม้กระทั่งการนัดประชุมสักหนึ่งครั้ง ดังนั้น จึงอาจจะต้องมีการผลักดันกันอย่างจริงจังให้เกิดการ ขับเคลื่อนในเรื่องนี้ หรือมิฉะนั้นก็อาจจะต้องตงั้ คณะทางานพิเศษด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ดินและป่า ไม้ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ซึ่งน่าจะต้องมีฝ่าย ประชาสังคม และภาควิชาการเข้ารว่ มด้วย เพื่อให้มีข้อมูล แลกเปลี่ยนและมีการเสนอแนะแนวทางในการดาเนินการที่หลากหลายขึ้น

คณะทางานชุดนี้จะต้องเป็นคณะที่วางมาตรฐานการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่เลือกปฏิบัติ หรือไม่ดาเนินการอย่างไร้ประสิทธิภาพ นอกเหนือจากการวางแนวนโยบายในการบงั คับใช้กฎหมายแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ดาเนินการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดมรรคผลขึ้นอย่างเป็น รูปธรรม รวมถึงการเฝ้าติดตามและการประเมินผลอย่างจริงจังด้วย

งานของคณะทางานชุดนี้ยังน่าจะหมายถึงการสร้างบุคลากรให้มีทักษะในการทาหน้าที่อย่าง ถูกต้องด้วย ดังนั้น อาจจะต้องออกแบบและจัดทาการฝึกอบรมที่มีมาตรฐานที่ดีให้เกิดขึ้นด้วย เพื่อให้วัน หนึ่งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะในระดับเจ้าหน้าที่ ระดับเจ้าพนักงานตารวจ และเจ้า พนักงานอัยการที่มีความเข้าใจเรื่องความเป็นธรรมทางนิเวศและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปกับความเป็น ธรรมทางเศรษฐกจิและสังคมอย่างแท้จริงยิ่งไปกว่านั้นภาระหน้าที่ของคุณทางานชุดนี้ยังต้องรวมถึง การทาเครือข่ายของหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน ชุมชน และวิชาการที่จะมารองรับงานใน กระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ทั้งระบบด้วย

๓.๒ การจัดตั้งศาลพิเศษด้านที่ดินและป่าไม้

การจัดตั้งศาลพิเศษเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาพิเศษที่แต่ละสังคมมี ในบางประเทศ เช่น ประเทศสวีเดนเมื่อมีปัญหาสิ่งแวดล้อมมาก ก็ได้มีการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมขึ้น ในประเทศ ออสเตรเลียมีการจัดตั้งศาลที่ดินควบคู่ไปกับศาลสิ่งแวดล้อมในบางมลรัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ ที่ดินและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หากประเทศไทยเห็นว่าปัญหาที่ดินเกี่ยวข้องกับเรื่องความไม่เป็นธรรมทมี่ ี ผลกระทบกับชีวิตของผู้คนเป็นจานวนมาก การจัดตั้งศาลที่ดินและป่าไม้ขึ้นมาเป็นพิเศษก็เป็นเรื่องที่ สามารถจะทาได้ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน สถิติคดีด้านที่ดินและป่าไม้ ทั้งในส่วนของศาลยุติธรรมและศาล ปกครองก็น่าจะมีมากเพียงพอที่จะแยกศาลที่ดินและป่าไม้ออกมาเป็นพิเศษได้

ศาลพิเศษที่จะจัดตั้งขึ้นนี้จะไม่มีประโยชน์เลยหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือที่ต่างประเทศหลายแห่งกาลังพัฒนาระบบศาลที่แก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ (Problem- Solving Court) ขึ้นมา ศาลที่ดินและป่าไม้หากจะมีขึ้น จักต้องมีขอบเขตอานาจเกี่ยวกับการจัดการคดีที่ดินและ ป่าไม้ รวมทั้งคดีที่เกี่ยวข้องแบบเบ็ดเสร็จ ปัญหาในคดที ี่ดินและป่าไม้จักไม่ต้องส่งไปใหค้ ณะกรรมการ วินิจฉัยชี้ขาดอานาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อชี้ขาดให้ต้องเสียเวลาของคู่ความอีกต่อไปเพราะคดจีะขึ้นมา ที่ศาลนี้เป็นหลัก ไม่ว่าคดีจะพัวพันกันระหวา่ งกรรมสิทธิ์ของเอกชน และเกี่ยวพนั กับการดาเนินการของ เจ้าหน้าที่ทางปกครองในขั้นตอนของการพิสูจน์สิทธิ การระวางชี้แนวเขต หรือการออกเอกสิทธิต่างๆ หรือไม่ ซึ่งคดีที่ดินและป่าไม้ยังหมายความรวมถึงการออกกฎหรือการออกใบอนุญาตที่เป็นไปโดยไม่ ถูกต้องรวมถึงการละเมิดกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อใหศ้าลนี้มี ลักษณะเป็นศาลที่มีศูนย์ปฏิบัติการแบบ One-Stop Service อย่างแท้จริง การสร้างสถาบันศาลแบบใหม่ (Institutionalize) ให้เกิดขึ้น น่าจะมีเป้าหมายที่จะพัฒนาสถาบัน ให้เป็นศูนย์กลางในการสร้างระบบการจัดการคดีที่ดินและป่าไมท้ี่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ การสร้างสถาบันยังหมายความรวมถึงการสรา้ งบุคลากรที่ความชานาญเป็นพิเศษด้วย ซึ่ง มิใช่แค่ผู้พิพากษาที่ตอ้ งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี หากแต่ต้องมีพนักงานคดี ด้านที่ดินและป่าไม้ รวมถึงการสร้างกลไกให้เกิดการพัฒนาเจ้าพนักงานบังคับคดีด้านที่ดินและป่าไม้ที่มี ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ หากมีความจาเป็นยังอาจจะต้องมีการจัดทาระบบผู้พิพากษาสมทบด้านทดี่ ิน และป่าไม้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ในประเทศออสเตรเลีย มีการจัดตั้งศาลชนพื้นเมือง (Native Court) ที่ให้ชน พื้นเมืองมีส่วนร่วมตัดสินคดีด้านที่ดินศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Land) และป่าไม้ของชุมชน (Native Forest) ขึ้นเป็นพิเศษเลย ซึ่งประเทศไทยก็น่าจะนาเรื่องนี้มาพิจารณาปรับใช้ให้เหมาะสมด้วย นอกเหนือจากนี้ ศาลที่ดินและป่าไม้ยังต้องพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนพยานผู้เชี่ยวชาญให้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่ เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญเรื่องการอ่านแผนที่ทางอากาศ เรื่องการระวางชี้แนวเขต เรื่อง ระบบป่าชุมชน และเรื่องระบบนิเวศตา่ งๆ เป็นต้น

ศาลที่ดินและป่าไม้จาเป็นต้องทาหน้าที่เป็นผู้สร้างระบบการจัดการความรู้ให้มีความต่อเนื่อง ด้วย ซึ่งหมายถึงการรวบรวมสถิติคดีความ รวมทั้งข้อขัดแย้งด้านที่ดินและป่าไม้ไว้อย่างเป็นระบบ การ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านคดีที่ดินและป่าไม้ เพื่อที่จะทาให้ภาพของปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจน ขึ้น รวมทั้งมีหน่วยศึกษาวิจัยเพื่อให้ข้อขัดแย้งทั้งหลายได้รับการแก้ไขไปในทิศทางที่ถูกต้องต่อไป อัน เป็นการสร้างองค์ความรู้ของสถาบันให้มีความสืบเนื่องไป

ยิ่งไปกว่านั้น ศาลที่ดินและป่าไม้น่ายังจะต้องเป็นตัวอย่างและเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมด้านป่าไม้และที่ดินทั้งหมด ซึ่งการพัฒนาบุคลากรคงไม่เพียงแต่การ สร้างความรู้ที่เพียงพอ แต่ต้องหมายถึงการมีทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งจาเป็นต้องมีความรู้เรื่อง ปรัชญาของการจัดการที่ดินและป่าไม้ทั้งในมุมมองแบบ Anthropocentic และ Ecocentric ที่สมดุล ทั้งยัง ต้องฝึกชั่งน้าหนักความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม กับความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมและนิเวศให้ เกิดความสมดุล และนอกเหนือจากความรู้ในทางวิชาการแล้ว หลายฝ่ายคงจะเรียกร้องใหผ้ ู้พิพากษา ต้องมีผัสสะเข้าใจเรื่องความเป็นธรรม (Sense of Justice) สามารถมองเห็นความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น เห็นความทุกข์ของคนยากคนจน และเหน็ ความเชื่อมโยงของเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม เพื่อที่จะ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเบ็ดเสร็จไปถึงรากที่แท้จริงของปัญหาอย่างเป็นธรรมด้วย

นอกเหนือจากเรื่องการพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้แล้วศาลพิเศษทางด้านที่ดินและป่าไมจ้ัก ต้องสร้างระบบงานทเี่อื้อต่อความสะดวกของประชาชนอย่างแท้จริงชาวบ้านที่อยู่ในชนบทต้องไม่ ลาบากในการเดินทางไปศาล ศาลที่ดินและป่าไม้แบบเคลื่อนที่จึงอาจจะต้องถูกออกแบบขึ้นมาด้วย ดังตัวอย่างในประเทศออสเตรเลียที่ผู้พิพากษาศาลที่ดินและสิ่งแวดล้อมแห่งมลรัฐนิวเซาท์เวลสก์ ต็ ้อง เดินทางไปเปิดการพิจารณาคดีตามศาลาว่าการเมืองต่างๆ แทนการเรียกร้องให้ประชาชนต้องเข้าไปใน เมืองหลวงอยู่เสมอ

๓.๓ การจัดตั้งศูนย์พิเศษเพื่อช่วยเหลือประชาชนด้านคดีที่ดินและป่าไม้

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการร้องเรียนในสานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สานักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สานักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ สภาทนายความ หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายต่างๆ ปรากฏว่าปัญหาที่ดินเป็นปญั หาสาคัญอันดับต้น ดังนั้น ควรจะมีการจัดตั้งศูนยด์ ้านคดี ที่ดินและป่าไม้ขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีความพร้อม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่ได้รับความ เดือดร้อน ที่จะได้รับความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ทั้งในเชิงการป้องกันและการแก้ไขปัญหา

ทั้งนี้ ความช่วยเหลือเกี่ยวกับคดีความ คงมิใช่แค่เพียงการจัดหาทนายความให้ หากแต่ต้อง สนับสนุนในเรื่องการจัดหาพยานหลักฐาน การให้ที่ปรึกษาทางด้านเทคนิคที่อาจต้องเข้าเป็นพยานหรือ พยานผู้เชี่ยวชาญในศาล เพื่อให้ประชาชนมีเครื่องมือที่เท่าเทียมกับฝ่ายอื่นด้วย และการพัฒนาระบบ ความช่วยเหลือ จึงอาจรวมถึงอาจมีการตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนเรื่องการเงินในการดาเนินคดีหรือสู้คดี หรือเงินเพื่อการประกันตัว เป็นต้น

ในต่างประเทศที่มีชนพื้นเมืองเช่นประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ การให้ความ ช่วยเหลือทางกฎหมายยังหมายถึงการจัดทาเอกสารความรู้ทางกฎหมาย ในกรณีที่การพิจารณาคดีเป็น ภาษาอังกฤษ ก็อาจมีการขออนุญาตให้ใช้ภาษาพื้นเมือง หรือการจัดให้มีล่ามภาษาพื้นเมืองด้วย

๓.๔ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและสถาบันวิจัยพิเศษเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดิน และป่าไม้

การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและสถาบันวิจัยพิเศษเกี่ยวกบั กระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ น่าจะช่วยทาให้มีการแก้ไขปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างเป็นระบบอย่างรวดเร็ว โดยมีฐานข้อมูล ทางวิชาการที่อ้างอิงอย่างถูกต้องเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเกิดเป็นจริงเป็นจังขึ้น ที่ผ่านมา แม้จะมีการ พยายามรวบรวมข้อมูลและการทาวิจัยกันอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และยังขาดการศึกษาอย่างจริงจัง ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนพิจารณาคดีที่ดินและป่าไม้โดยตรง ศูนย์ข้อมูลที่จะจัดตั้งขึ้นจักต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลคดีทั้งในข้อมูลเบื้องต้นและข้อมูลที่ผ่าน การวิเคราะห์ รวมถึงมีการพัฒนาระบบการจัดการความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่า ไม้ในภาพรวมด้วย ในส่วนของสถาบันวิจัยพิเศษเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ จัก ต้องจัดทาการศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อหาทางออกในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการวิจัย เพื่อประเมินผลการดาเนินการของกระบวนการยุติธรรมทางป่าไม้และที่ดินว่าสามารถสร้างความเป็น ธรรมให้แก่ประชาชน โดยมีมิติด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างได้อย่างแท้จริงหรือไม่ และต้องมีความ พร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง

งานของศูนย์ข้อมูลและสถาบันวิจัยพิเศษเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้นี้จัก ต้องเป็นการทางานอย่างองค์รวมที่มองภาพกระบวนการยุติธรรมทางป่าไม้และที่ดินทั้งระบบ ทั้งในส่วน ขององค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน โดยคานึงถึงปรัชญากฎหมายที่ดินและป่าไม้ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องความเป็นธรรมทางนิเวศและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปกับเรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและ สังคม

III. แนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ตามที่ผู้เขียนได้สรุปปัญหาและเสนอแนวทางในการแก้ไขไว้ข้างต้นนั้น หากจะเป็นข้อเสนอที่ เป็นประโยชน์อยู่บ้าง ท่านที่เห็นประโยชน์ก็คงจะต้องมาช่วยกันวางแนวทางในการขับเคลื่อนที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบต่อไป ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเกี่ยวโยงกับการรับรู้และทา ความเข้าใจ การแก้ไขกฎหมายและบทบัญญัติต่างๆ รวมทั้งการแก้ไขทัศนคติของผู้ที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบัน ในขณะที่บางฝ่ายได้รับทราบปัญหาและรับรคู้ วามไม่เป็นธรรมในเรื่องกระบวนการ ยุติธรรมด้านที่ดินและป่าไม้ หลายฝ่ายก็ยังไม่ทราบว่ามีปัญหาความไม่เป็นธรรมอยู่ ดังนั้น การ ขับเคลื่อนในเบื้องต้น จึงน่าจะเริ่มจากการทาให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจสภาพข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และให้เกิด การตระหนักถึงปัญหาร่วมกัน การเปิดเวทีประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น การศึกษาดู งานลงพื้นที่เพื่อศึกษาสภาพความเสียหาย และการพูดคุยกับผู้ที่ได้รับผลกระทบและผู้ที่ก่อให้เกิด ผลกระทบ นับเป็นเรื่องสาคัญที่จะสร้างความตระหนักรรู้ ่วมกันได้อย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อทุกฝ่ายเห็นว่าเรอื่ ง นี้เป็นปัญหาสาคัญที่จะต้องแก้ไขก็คงจะไดม้ีการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตซึ่งการ แก้ปัญหาคงมีทั้งการใช้มาตรการเฉพาะหน้าสาหรับเรื่องที่เร่งด่วนจาเป็นในปัจจุบัน รวมถึงการใช้ มาตรการระยะกลาง และมาตรการระยะยาว ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน และป่าไม้ให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทยของเราในวันหนึ่งข้างหนา้ ต่อไป

บทความในโครงการหนังสือเล่ม "คดีความคนจน: การวิเคราะห์กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่ม คนจนในสังคม” ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๔. 

ผู้ช่วยพิพากษาศาลอุทธรณ์ และเลขานุการแผนกคดีสิ่งแวดล้อม ศาลอุทธรณ์

 

http://v-reform.org/wp-content/uploads/2012/08/บทความสุนทรียา-ที่ดิน.pdf