การจัดการร่วมในพื้นที่ตำบลบ้านหลวง กับการสร้างกติกาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ความรู้ดั้งเดิมเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่า หากปล่อยให้ทรัพยากรธรรมชาติ ถูกใช้ไปโดยไม่มีการควบคุมจากรัฐ หรือมีการมอบกรรมสิทธิ์เหนือทรัพยากรนั้นให้แก่เอกชน ทรัพยากรธรรมชาตินั้นจะถูกใช้จนหมดสิ้นเพราะไม่มีใครสนใจดูแลรักษา และผู้ใช้แต่ละคนก็จะพยายามใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรนั้นให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพราะไม่รู้ว่าหากเฝ้ารอถึงอนาคตแล้ว วันข้างหน้าจะมี ทรัพยากรนั้นให้ใช้ประโยชน์อีกหรือไม่ แนวคิดนี้เรียกสั้นๆว่า “โศกนาฏกรรมของทรัพยากรร่วม ” (The tragedy of the commons) ผู้ที่นาเสนอแนวคิดนี้จนเป็นที่สนใจและอ้างอิงกันอย่างกว้างขวางคือ Garrett Hardin ในปี 1968 Hardin ยกตัวอย่างคลาสสิกของกรณีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่เปิดกว้างให้ทุกคนเข้ามาใช้ได้ (Open access to all) หลักการเบื้องต้นของเรื่องนี้ก็คือ คนเลี้ยงสัตว์แต่ละคนจะได้ประโยชน์โดยตรงจากทุ่ง หญ้า แต่จะต้องแบกรับต้นทุนจากการให้สัตว์เข้ามากินหญ้ามากเกินไปในภายหลัง เพราะทุ่งหญ้าเสื่อมสภาพ ลงจากการถูกใช้ประโยชน์ ซึ่งคนเลี้ยงสัตว์ทุกคนต้องแบกรับต้นทุนดังกล่าวเท่าๆ กัน ฉะนั้น หากเราสมมติว่า คนเลี้ยงสัตว์มีเหตุมีผลทางเศรษฐศาสตร์ ก็ย่อมนาสัตว์เข้ามากินหญ้าให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนที่ทุ่ง หญ้าจะเสื่อมโทรมลง ท้ายที่สุด ทุ่งหญ้าก็ถูกใช้ประโยชน์เกินศักยภาพที่ทุ่งหญ้าจะรับไหว และเสื่อมสภาพลง อย่างรวดเร็วเกินควร
อ่านบทความเต็มได้ในไฟล์พีดีเอฟแนบ http://www.recoftc.org/sites/default/files/uploaded_files/บ้านหลวงกับการจัดการร่วม.pdf