บทนำ
ภายใต้แนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน จะพบว่าการจัดการในมิติเชิงเดี่ยว หรือการจัดการที่มุ่งเน้นไปที่องค์กร สถาบันใด สถาบันหนึ่ง คงไม่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ต่อเงือนไขความสลับซับซ้อนของปัญหาที่ดำรงอยู่มาอย่างยาวนาน รวมไปถึงความซับซ้อนในทางโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รวมไปถึงวัฒนธรรมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน รูปแบบการจัดการทรัพยากรในลักษณะต่างๆเครื่องมือ ยุทธวิธีในการเจรจา ต่อสู้ ผลักดัน มีรูปลักษณ์ จึงสะท้อนให้เห็นถึงบริบททางสังคม ในห้วงเวลานั้นๆ ที่แตกต่างกันออกไป ในงานชิ้นนี้ จึงได้พยายามให้เห็นถึงลักษณะในการขับเคลื่อนของภาคประชาชนรวมกับกลุ่มสถาบัน องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อดำรงรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยที่มุ่งเน้นไปสู่การบริหารจัดการที่อยู่บนพื้นฐานความหลากหลายของสังคม ชุมชน รวมไปถึงการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ซึ่งได้แบ่งออกมาเป็น สาม ส่วนกว้าง ดังนี้ ส่วนที่หนึ่ง เป็นบริบทของสถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนที่สอง บทเรียนจากกระบวนการในการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากร ส่วนที่สาม ได้ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าได้ไปทำหน้าที่การยึดโยงให้เห็นถึงหลักการสำคัญของสังคม ในการสร้างสิ่งประชาธิปไตย
ดาวน์โหลดไฟลเพื่ออ่านบทความเต็ม
http://www.recoftc.org/sites/default/files/uploaded_files/กระบวนการข้อบัญญัติท้องถิ่น-2.pdf